วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

  โรฮิงยาส์ประชาชนที่ถูกลืมในพม่า  
   ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอารากัน (ยะไข่) ในตอนเหนือของประเทศพม่าติดกับชายแดนประเทศบังกลาเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง Maungdaw, Buthidaung, Rathedaung, Akyab และ Kyauktaw ชาวโรฮิงยาส์มีภาษาเป็นของตัวเอง คือ ภาษาอินดิค(Indic language) ที่มีความคล้ายกับภาษาเบงกาลีที่ใช้พูดในประเทศบังกลาเทศและอินเดีย (ชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้พูดภาษามาลายูหรือภาษายาวีตามที่นักข่าวไทยบางสำนักซึ่งทำข่าวเรื่องโรฮิงยาส์อ้าง แต่พูดภาษาชิตตาโกเนี่ยน - Chittagonian ซึ่งเป็นภาษาคล้ายกับภาษาในพื้นที่ Chittagong ในประเทศบังกลาเทศ) ประชากรของชาวโรฮิงยาส์มีประมาณ 7 แสนถึง 1.5 ล้านคนในรัฐอารากันที่มีประชากรมากถึง 3 ล้านคน 


     ประวัติศาสตร์ของชาวโรฮิงยาส์ยังมีความหลากหลายมากในปัจจุบัน มีรายงานและงานวิจัยหลายส่วนที่ให้ข้อมูลไว้ว่าเป็นผู้คนที่อยู่ในตอนเหนือรัฐอารากันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 7-12 และได้นับถือศาสนาอิสลามเนื่องจากพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐอารากันมีพ่อค้าชาวอาหรับเข้ามาค้าขายเป็นเวลายาวนาน 


     แต่ในมุมมองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่ "ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย" และอพยพมากจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้นด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลเผด็จการพม่าทำให้ประชาชนชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง (Indigenous groups) ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า 


     การที่ชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้รับสัญชาติทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ จากรัฐบาล ทั้งยังถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องมากกว่าชนกลุ่มน้อยหรือประชาชนเชื้อชาติอื่นๆ โดยเฉพาะจากความแตกต่างทางศาสนาและเชื้อชาติ ได้รับการคุกคามและเลือกปฏิบัติในทุกระดับจากรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งรวมถึงสิทธิที่จะนับถือศาสนา การเข้าถึงการศึกษา สิทธิในการรักษาโรค จนถึงไม่สามารถแต่งงานได้ ถูกบังคับให้เป็นทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน และไม่สามารถเดินทางออกนอกเพื่อไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ได้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนมาก


    นอกจากนี้ชุมชนชาวโรฮิงยาส์ยังได้รับการปราบปรามอย่างต่อเนื่องโดยมีเหตุการณ์สำคัญในปี ค.ศ. 1962 1978 และ 1991 ทำให้มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์หลบหนีภัยเข้าไปในบังกลาเทศ ปากีสถาน ซาอุดิอาราเบีย เป็นหลัก โดยที่ประเทศรองลงมา คือสหรัฐอาหรับเอมิเรด มาเลเซีย และประเทศไทย 


โรฮิงยาส์:ไร้สัญชาติ-ขาดมิตร

   หลายทศวรรษมาแล้วที่พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ  ทำให้ชาวมุสลิมโรฮิงยากลายเป็นกลุ่มคนที่ไร้สัญชาติ          ต้องกระจัดพลัดพรากไปทั่วโลก  แม้สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ยังมองว่า ชาวโรฮิงยาอยู่ในจำพวกชนกลุ่มน้อยที่ถูกกลั่นแกล้งมากที่สุดในโลก  รายงานของยูเอ็นระบุว่า ชาวโรฮิงยาราว 800,000 คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในพม่า ส่วนใหญ่อาศัยในรัฐยะไข่              ทางตะวันตกของประเทศ ที่เพิ่งตกเป็นข่าวดังเกิดเหตุรุนแรงทางศาสนาระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม ชาวโรฮิงยายังถูกรัฐบาลและประชาชนส่วนใหญ่ในพม่ามองว่าเป็นชาวต่างชาติมาตลอด  นักเคลื่อนไหวกล่าวว่า ชาวโรฮิงยามีความขัดแย้งกับชาวพุทธ ในรัฐยะไข่มานาน   ทั้งรัฐบาลพม่าและรัฐบาลบังกลาเทศไม่ปรารถนาชนกลุ่มน้อยโรฮิงยา  กล่าวกันว่าชาวโรฮิงยา              ราว  300,000 คน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากจนข้นแค้น  ภาพต่าง ๆ เกี่ยวกับค่ายที่พักของพวกเขา ซึ่งสุดแสนสกปรก           และรายงานข่าวชาวโรฮิงยายอมเสี่ยงภัยพยายามหนีตายไปอยู่ประเทศอื่นด้วยเรือเก่า ๆ ได้รับความสนใจจากชาวโลกในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แต่ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงยาแทบจะไม่มีอะไรดีขึ้น พม่ามีชนกลุ่มน้อยมากมาย                                      ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ นับตั้งแต่พม่าได้เอกราชจากอังกฤษเมื่อปีพ.ศ. 2491 แต่ชาวโรฮิงยาไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกฎหมายปีค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) กำหนดเงื่อนไขว่า ชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า พวกเขาเข้ามาอาศัยในพม่าก่อนปีพ.ศ. 2366 หรือก่อนเกิดสงครามครั้งแรกระหว่างอังกฤษกับพม่า เพื่อให้ได้รับสัญชาติ ตัวแทนของโรฮิงยาบอกว่า พวกเขาอยู่ในพม่ามานานก่อนหน้านั้น                                                                       
        ขณะที่รายงานของสำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ระบุว่า ด้วยความที่โรฮิงยาไร้สัญชาติ ชาวโรฮิงยาในพม่าจึงต้องเผชิญกับการถูกกลั่นแกล้ง  เลือกปฏิบัติ และถูกแสวงหาประโยชน์ นอกจากนั้น ชาวโรฮิงยายังถูกบังคับใช้แรงงาน  และจำกัดสิทธิในการเคลื่อนไหวอย่างเสรี รวมไปถึงการไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน                        และไม่ได้รับการศึกษา ตลอดจนบริการภาคประชาชน รายงานของยูเอ็นเอชซีอาร์กล่าวต่อไปว่า                                     ชาวโรฮิงยาไม่มีมิตรอย่างแท้จริงในหมู่ชนกลุ่มน้อยด้วยกันของพม่า  พวกเขาต้องอยู่ภายใต้กฎอันเข้มงวด                        การแต่งงานต้องได้รับอนุญาต และมีลูกได้ไม่เกิน 2 คน   อย่างไรก็ดี เคยเกิดคลื่นผู้อพยพชาวโรฮิงยาครั้งใหญ่ 2 หน           ซึ่งแต่ละครั้งมีผู้อพยพร่วม 250,000 คน ที่หลั่งไหลข้ามพรมแดนพม่าเข้าสู่บังกลาเทศในปีพ.ศ. 2521 และช่วงระหว่างปีพ.ศ.  2534-2535 บังกลาเทศมองชาวโรฮิงยาเป็นภาระอันหนักอึ้ง นอกจากบังกลาเทศมีความตึงตัวทางการเงินแล้ว                       ผู้อพยพมักก่อเรื่องในทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ตั้งแต่ลักเล็กขโมยน้อยไปจนถึงการค้ายาเสพติด เมื่อไม่กี่ปีมานี้    ชาวโรฮิงยาอพยพยอมเสี่ยงภัยเดินทางด้วยเรือมุ่งหน้าไปยังมาเลเซียหรือไทย ทำให้กองทัพเรือของประเทศเหล่านี้ถูกกล่าวหาผลักไสไล่ส่งเรือมนุษย์โรฮิงยากลับสู่ทะเล เชื่อว่า ชาวโรฮิงยาราว 1 ล้านคนอาศัยอยู่นอกประเทศพม่า รวมทั้งหลายชุมชนในปากีสถาน และอีกราว 400,000 คนในประเทศอ่าวเปอร์เซีย ส่วนในรัฐยะไข่ของพม่า ชาวโรฮิงยาอาศัยอยู่ในเมืองหม่อง      ดอว์  เมืองบูทิดอง และเมืองรัตทิดอง  อีกทั้งคนส่วนใหญ่มองชาวโรฮิงยาในแง่ลบ เพราะเชื่อว่า                                    ลอบเข้าเมืองมาจากบังกลาเทศ เป็นพวกชาวเบงกาลี แม้แต่โก โก ยี อดีตนักโทษการเมืองชื่อดังและนักศึกษาเคลื่อนไหวกล่าว เขาต้องการบอกอย่างชัดเจนเลยว่า โรฮิงยาไม่ได้เป็นหนึ่งในชนเผ่าของพม่า  ด้านผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า                            ความเป็นศัตรูและเกลียดชังอย่างรุนแรง ที่เป็นหัวใจของความไม่สงบในรัฐยะไข่ ได้ลุกลามเข้าสู่โลกออนไลน์                  หลายวันของการเปิดศึกระหว่างชาวพุทธกับชาวโรฮิงยาในรัฐยะไข่ ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงในเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก โดยเฉพาะหน้าเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า “คาลาร์ บีเฮดดิ้ง แก๊ง” มีคนเข้าไปกดไลค์ถึง  500 ครั้ง        เพราะเผยแพร่ภาพเหยื่อนองเลือดของความไม่สงบในรัฐยะไข่   ส่วนเดโมเครติค วอยซ์ ออฟ เบอร์ม่า ที่มีฐานอยู่ในประเทศนอร์เวย์ รายงานว่า เว็บไซต์ภาษาอังกฤษและภาษาพม่า ได้ถูกกลุ่มแฮกเกอร์ที่ชื่อว่า “บลิงค์” โจมตี  เพราะคิดว่ามาจากสิงคโปร์และรัสเซีย นิโคลาส ฟาร์เรลลี นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าวว่า เหตุการณ์ในรัฐยะไข่                         ได้สร้างพายุแห่งความเกลียดชังบนโลกออนไลน์ ความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธกับชาวโรฮิงยา มีกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้   พวกชาวพุทธที่หัวรุนแรงอาจกำลังหาทางกำจัดชาวโรฮิงยาให้ออกไปจากพม่า แต่จำนวนการใช้อินเทอร์เน็ตในพม่ายังอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่น่าจะทำให้การใช้ถ้อยคำชักชวนในโลกออนไลน์ของพวกเหยียดสัญชาติ ขับเคลื่อนความรุนแรงให้มากไปกว่านี้ได้ แจน ซาลิวสกี้  นักวิเคราะห์แห่งสถาบันวิจัยไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์                                                         ได้กำหนดขอบเขตระหว่างอารมณ์ต่อต้านโรฮิงยาและต่อต้านศาสนากำลังให้ภาพที่มัวมากขึ้น ความเสี่ยงของการโฆษณาชวนเชื่อถูกแปรเปลี่ยนไปสู่การกระทำอันรุนแรง สหประชาชาติอพยพเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ออกจากทางเหนือของรัฐยะไข่ ซึ่งเป็นถิ่นของชาวโรฮิงยา  ขณะที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวได้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย        ฟิล โรเบิร์ตสัน  เจ้าหน้าที่จากกลุ่มสิทธิมนุษยชน “ฮิวแมน ไรท์ วอทช์” ในนครนิวยอร์กประเทศสหรัฐ บอกว่า              ประชาชนชาวพม่าเชื่ออยู่เพียงด้านเดียวว่า ชาวโรฮิงยาไม่ใช่ชาวพม่า และไม่ได้เป็นพลเมืองของพม่า                               แต่โรฮิงยาเป็นแค่เพียงผู้อพยพชาวเบงกาลี ที่กำลังพยายามเข้ามาครอบครองดินแดนในพม่าเท่านั้น.